Health

  • ปวดหัว อาการที่สามารถดูแลตัวเองเบื้องต้นได้
    ปวดหัว อาการที่สามารถดูแลตัวเองเบื้องต้นได้

    ปวดหัว อาการที่สามารถดูแลตัวเองเบื้องต้นได้

    ปวดหัว เป็นอาการที่มีสัดส่วนมากที่สุดที่คนจะเข้าพบแพทย์ที่โรงพยาบาล สาเหตุอาจจะเกิดจากการดำเนินชีวิตในสังคมสมัยใหม่ที่เปลี่ยนไป ทุกคนต่างเร่งรีบ อาจมีความเครียดและอดนอน แต่อาการปวดไม่ได้เกิดจากแค่ความเครียดหรืออดนอนก็ได้ อาจจะเป็นอาการนำของโรคอันตราย พิการหรือเสียชีวิตก็ได้ อาการปวดหัวเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย ส่วนมากจะพบในวัยทำงาน วัยกลางคนจนกระทั่งไปถึงผู้สูงอายุ และแต่ละช่วงอายุสัดส่วนของโอกาสน่าจะเป็นโรคต่างๆ ก็แตกต่างกัน เช่น ในวัยทำงานอาจจะเจอโรคที่ไม่อันตราย วัยสูงอายุขึ้นไปจะเจอโรคอันตรายมากกว่า 

    ปวดหัว อาการโดยทั่วไปเรามักแบ่งโรคเป็น 2 กลุ่ม

    1. กลุ่มที่ไม่มีรอยโรคในสมอง ศีรษะ หรือ คอ (Primary Headache) 

    กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ไม่ร้ายแรงมักปวดเป็นๆ หายๆ ช่วงหายจะหายสนิท ได้แก่ ไมเกรน , ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัว (Tension – type Headache ) ,ปวดศีรษะคลัสเตอร์ (Cluster Headache) เป็นต้น

    • ไมเกรน (Migraine)

    เป็นโรคปวดศีรษะที่พบได้บ่อยในคนอายุน้อยถึงวัยกลางคน มักปวดศีรษะขมับข้างใดข้างหนึ่ง ร้าวไปกระบอกตา หรือท้ายทอยได้ ปวดลักษณะตุบๆตามจังหวะชีพจรและมักปวดมากขึ้นหลังทำกิจวัตรประจำวัน มีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียนร่วมด้วยได้ ไม่ชอบแสงจ้าหรือเสียงดัง ระยะเวลาที่ปวดแต่ละครั้งประมาณ 4 ชั่วโมง ถึง 3 วัน

    สาเหตุ  – เชื่อว่ามีการขยายตัวของหลอดเลือดที่อยู่ชิดกับเยื่อหุ้มสมอง หลังจากที่ได้รับการกระตุ้น ซึ่งได้แก่

    (1) ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงในผู้หญิง เช่น ช่วงใกล้ประจำเดือน

    (2) อาหาร เช่น กาแฟ ช็อคโกแลต ชีส แอลกอฮอล์

    (3) การไม่สบายของร่างกายและจิตใจ เช่น นอนไม่พอ ทานอาหารไม่ตรงเวลา

    (4) สิ่งแวดล้อม เช่น อากาศร้อน แสงจ้า เสียงดัง กลิ่นฉุน

    • ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัว (Tension-type Headache) 

    เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดมักปวดมึนศีรษะเหมือนมีอะไรมารัดรอบศีรษะ บางคนร้าวลงต้น คอ บ่า สะบัก

    สาเหตุ – ส่วนใหญ่เกิดจากการพักผ่อนไม่เพียงพอและความเครียด

    • ปวดศีรษะคลัสเตอร์ (Cluster Headache) 

    พบได้บ่อยในช่วงอายุ 20-50 ปี มีลักษณะพิเศษ ได้แก่ ปวดศีรษะข้างเดียวบริเวณรอบ หรือ หลังเบ้าตาร้าวไปขมับเหมือนมีอะไรแหลมๆแทงเข้าตา ปวดมากจนรู้สึกกระสับกระส่าย ระยะเวลา 15 นาที – 3 ชั่วโมง ใน 1 วัน เป็นได้หลายครั้งและมักปวดเป็นเวลาเดิมของทุกวันติดต่อกันเป็นสัปดาห์ถึงเดือน พอหายปีนี้ ปีหน้าก็อาจปวดในช่วงเดือนใกล้เคียง

    มีอาการร่วมทางระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น ลืมตาลำบาก ตาบวม ตาแดง น้ำตาหรือน้ำมูกไหล ม่านตาหดเล็กลง ซึ่งเป็นข้างเดียวกับที่ปวด

    สาเหตุ –  เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับสมองส่วนที่ควบคุมเวลาของร่างกายที่ชื่อ Hypothalamus ทำงานผิดปกติ ทำให้เส้นประสาทสมองที่ 5 ซึ่งทำหน้าที่รับความรู้สึกของใบหน้าพร้อมทั้งระบบประสาทอัตโนมัติและหลอดเลือดข้างคียงเกิดการเปลี่ยนแปลง

    • กลุ่มอาการออฟฟิศ (office syndrome) โรคปวดหัวที่พบบ่อยที่สุด

    โรคปวดหัวที่พบบ่อยที่สุดในขณะนี้คงหนีไม่พ้นสาเหตุที่เกิดขึ้นจากการทำงาน ที่เรียกว่า กลุ่มอาการออฟฟิศ (office syndrome)

    สาเหตุ – เกิดขึ้นจากการใช้สายตาทำงานหนัก ใช้โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คุยกัน  ดูหนัง ฟังเพลง ติดต่อกันเป็นเวลาหลายๆ ชั่วโมงทำให้เกิดอาการปวดหัว ตั้งแต่น้อยๆ ได้แก่ ปวดตึง ท้ายทอย คอ บ่า ไหล่ ไปจนถึงอาการปวดที่มาก คือชามือ ปวดหลัง ชาขาก็มี

    ต้องยอมรับว่า คนที่ใช้คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน ไม่มีใครเลยที่นั่งตัวตรง ส่วนใหญ่จะนั่งตัวเอียง พับขา เป็นเวลาหลายชั่วโมงบางคนกลับมาบ้านยังใช้อุปกรณ์เหล่านี้อีก ทำให้นอนดึก แต่ต้องตื่นเช้า พักผ่อนน้อย กล้ามเนื้อเกิดอาการหดเกร็งเป็นเวลานาน หลายคนที่มีอาการปวดหัวหลายเดือนทำให้กังวลว่าจะเป็นเนื้องอกในสมอง ไปพบแพทย์ตรวจคอมพิวเตอร์สมองก็ปกติดี แต่อาการปวดหัวไม่ดีขึ้น รับประทานยาแก้ปวดพาราเซตามอลก็ไม่หาย

    วิธีรักษา
    การรักษาอาการปวดหัวไม่ยาก เพียงแต่ใน 1 ชั่วโมงของการทำงานให้พักสายตาสัก 5 นาที หรือลุกจากเก้าอี้ไปยืดเส้น ยืดสาย ก็จะไม่เกิดอาการปวดนี้ ฟังดูเหมือนง่าย แต่โดยความเป็นจริงมักจะละเลยเพราะทำงานติดพันบ้าง งานด่วนต้องรีบทำให้เสร็จบ้าง

    2. กลุ่มที่มีรอยโรคในสมอง ศีรษะ หรือ คอ (Secondary Headache) 

    เช่น เนื้องอกในสมอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หลอดเลือดสมองโป่งพอง หลอดเลือดอักเสบ เลือดออกในสมอง กระดูกคอเสื่อม ต้อหิน โพรงไซนัสอักเสบ เป็นต้น

    สำหรับปวดหัวกลุ่มอันตรายสามารถสังเกตได้คือ

    1. อาการปวดหัวนั้นค่อนข้างเร็วและแรง เช่น ภายใน1 นาที จากไม่ปวดเลยกลายเป็นปวดมากเหมือนหัวจะระเบิด แบบนี้มองว่าอันตรายไว้ก่อน เช่น อาจจะมีเลือดออกในสมองได้
    2. สำหรับคนที่ไม่เคยปวดศีรษะเลย อยู่ๆ ก็ปวด หลังอายุ50 ปี ก็จัดว่าอันตราย เพราะกลุ่มโรคที่ไม่อันตราย อย่างไมเกรน เทนชั่น คลัสเตอร์ ส่วนมากจะมีอาการปวดอยู่บ้างในอายุก่อน 50 ปี
    3. สำหรับคนที่เคยปวดอยู่บ้างแล้ว เป็นรูปแบบซ้ำๆ เดิม แล้วอยู่ๆ รูปแบนั้นได้เปลี่ยนไปในทางที่ไม่ดี เช่น ความรุนแรงมากขึ้น ตำแหน่งที่ปวดเปลี่ยนไป  หรือระยะเวลานานขึ้น หรือบางทีหลับๆ อยู่แล้วถูกปลุกจากความปวด ให้ต้องตื่นขึ้นมา เหล่านี้เป็นรูปแบบที่เปลี่ยนไปค่อนข้างอันตราย
    4. ถ้ามีอาการร่วมทางระบบประสาท เช่น อยู่ดีๆ อ่อนแรง เห็นภาพซ้อน หูอื้อ พูดไม่ชัด เดินเซ หรือคอแข็ง จัดว่าอันตรายไว้ก่อน
    5. สำหรับคนผู้มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคประจำตัวประเภทภูมิคุ้มกันต่ำ ก็อาจจะต้องสงสัยปวดศีรษะอันตรายไว้ก่อน เช่น บางคนเป็นSLE ทานยากดภูมิอยู่ แล้วปวดหัวขึ้นมา ก็ต้องสงสัยไว้ก่อน ว่าอาจจะมีติดเชื้อแทรกซ้อนได้ เหล่านี้เป็นวิธีสังเกตของกลุ่มอันตราย โรคก็มีหลากหลาย ตั้งแต่ก้อน หลอดเลือดสมองตีบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หากปวดแล้วนอนไม่ได้ ให้สงสัยว่าอันตรายไว้ก่อน เพราะกลุ่มที่ไม่อันตรายส่วนมากการนอนจัดเป็นปัจจัยปกป้อง ทำให้อาการปวดดีขึ้นด้วยซ้ำ

    ปวดหัว

    ตำแหน่งของอาการปวดหัว

    ส่วนมากแพทย์จะถามปวดตรงไหนบ้าง ลักษณะเป็นอย่างไร การดำเนินโรคเป็นอย่างไร ตำแหน่งที่ปวดช่วยอย่างไร เช่น

    • เบ้าตา ต้องดูว่าปวดที่เบ้าตาไหน ถ้าปวดที่เบ้าตาอย่างเดียวก็อาจจะเป็นโรคต้อหินก็ได้ หรือบางทีจะเป็นคลัสเตอร์ก็ได้ หรือจะเป็นไมเกรนก็ได้
    • หน้าผาก ขมับ ท้ายทอย กลางกระหม่อม ก็เป็นตำแหน่งที่สำคัญที่คนไข้อาจจะต้องสังเกตแล้วบอกแพทย์ให้ได้ เพื่อช่วยในการวินิจฉัย
    • หลายๆ คน มีอาการปวดบริเวณท้ายทอย ในส่วนนี้สามารถเป็นได้หลายโรค ไมเกรนบางทีก็ปวดท้ายทอยได้ กล้ามเนื้อยึดตึงก็ปวดท้ายทอยได้ โรคของกระดูกคอเสื่อมก็ปวดท้ายทอยได้ หรือแม้แต่โรคของก้อนเนื้องอกในสมอง ก็ปวดท้ายทอยได้ นอกจากตำแหน่งเราก็ใช้อาการร่วมอื่นๆ เช่น ลักษณะการดำเนินโรค ทำอะไรแล้วดีขึ้น แย่ลง แล้วก็ตรวจร่างกาย

    บางโรคก็ปวดทั้งศีรษะหรือปวดเฉพาะจุด แต่ถ้าคนไข้สังเกตได้ การวินิจฉัยโรคก็จะง่ายขึ้น ถ้ามีอาการบ่งไปทางอันตราย ก็จะสแกนสมอง เพื่อยืนยันว่ามีอะไรผิดปกติในสมองหรือเปล่า หรือกรณีที่ลักษณะแบบฉบับคล้ายกับเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เช่น มีไข้ ปวดหัวทั่วๆ ไป คลื่นไส้ อาเจียน แล้วก็คอแข็ง อันนี้อาจจะสงสัยเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ก็อาจจะต้องเจาะตรวจน้ำไขสันหลังเพื่อนำ ไปวิเคราะห์อีกที

    สมมติว่า สงสัยไปทางเลือดออก อาจจะเลือกเป็น CT สมอง ซึ่งจะเห็นชัดกว่า แต่ถ้าต้องการเก็บรายละเอียด เช่น สงสัยไปทางพวกก้อน เนื่องงอกในสมองหรือสมองขาดเลือด เราก็อาจจะเลือกเป็น MRI เพราะเราสามารถดู MRA คือดูหลอดเลือดแดงได้ด้วย หรือถ้าสงสัยหลอดเลือดดำตีบตัน ก็ทำให้เกิดการปวดหัวได้ เราก็จะตรวจ MRV หรือ magnetic resonance venography พูดง่ายๆ ก็คือ ถ้าสงสัยแค่เลือดออกเราก็ทำแค่ CT สมอง ถ้าต้องการดูรายละเอียดของโรคปวดหัวอื่นๆ ร่วมด้วย ก็จะเลือกเป็น MRI แล้วก็ดู MRA หรือ MRV ไปด้วย

    ลักษณะของการดำเนินโรค แบ่งออกเป็น 3 แบบ ง่ายๆ

    1. ตุบๆ คล้ายๆ ตุบ ตุบ ตุบ เป็นตามจังหวะหัวใจเต้น บ่งไปโรคอะไรบ้าง เช่น โรคหลอดเลือด ไมเกรนก็ได้
    2. แหลมๆ จี๊ดๆ แทงๆ อันนี้อาจมีโอกาสเป็นโรคปลายประสาทอักเสบ
    3. บีบรัดตึงๆ แบบเอาอะไรมาบีบไว้ที่ศีรษะ อันนี้บอกได้ค่อนข้างยาก เป็นได้ตั้งแต่กล้ามเนื้อยึดตึงธรรมดา ไปจนถึงก้อนเนื้อในสมองก็ปวดแบบนี้

    ส่วนระยะเวลาดำเนินโรค

    ส่วนระยะเวลาดำเนินโรค ก็สำคัญเหมือนกัน กลุ่มโรคที่ไม่อันตรายส่วนมาก การดำเนินโรคก็จะเป็นๆ หายๆ และมีช่วงหายสนิทเกิดขึ้น ระยะเวลาของแต่ละโรคก็จะไม่เหมือนกัน เช่น ไมเกรน อาจจะปวดไม่เกิน 3 วันต่อครั้ง แล้วก็หาย แล้วก็ปวดใหม่ คลัสเตอร์ก็อาจจะไม่เกิน 3 ชั่วโมงต่อครั้ง แต่วันหนึ่งเป็นได้หลายรอบ ส่วนเทนชั่นก็อาจจะเป็นวันหรือเป็นสัปดาห์กว่าจะหาย

    ส่วนโรคกลุ่มอันตรายส่วนมาก ปวดแล้วจะไม่ค่อยหาย อาจจะทานยาพาราเซตามอลแล้วอาจจะดีขึ้นบ้าง แต่ไม่หายสนิท แล้วถ้าอาการพวกที่เป็นก้อน จะค่อยๆ ปวดเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ แล้วถ้าเป็นพวกเลือดออกก็อย่างที่บอกไว้ จะมีลักษณะพิเศษ คือ เร็วแรง แล้วก็คงที่ หรือมากขึ้นแต่อาจจะไม่หาย หลังจากกินยาลดปวด

    สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยในการวินิจฉัย คนไข้อาจจะต้องสังเกตว่า ทำอะไรแล้วดีขึ้น หรือทำอะไรแล้วแย่ลง เช่น สำหรับไมเกรน ถ้านอนพักแล้วอาจจะดีขึ้น บางคนอาเจียนแล้วก็ดีขึ้น อันนี้ก็มีโอกาสเป็นไมเกรนมากกว่า เพราะว่ามันเป็นกระบวนการดำเนินของโรค พออาเจียนมันค่อนข้างจะใกล้จบรอบไมเกรนแล้ว หรือถ้านอนพัก การนอนที่ดี จะช่วยให้ไมเกรนหมดรอบเร็วขึ้น

    การดูแลตัวเองเบื้องต้น

    การดูแลตัวเองเบื้องต้นสิ่งที่อยากจะเน้น คือ ทบทวนอาการปวดหัวของตัวเองว่า เข้ากับโรคอันตรายหรือไม่ เพราะว่าอาจจะเป็นอาการนำก่อนที่จะเป็นโรคทางสมองก็ได้ ถ้าเรารีบรักษาเร็วก็มีโอกาสที่จะหายได้

    การให้หมอนวด นวดตรงคอ ต้องระวังดีๆ จริงๆ เวลาเราปวดกล้ามเนื้อหรือกระดูกคอ การนวดโดยเฉพาะการยืดกล้ามเนื้อช่วยได้ ช่วยให้ดีขึ้นได้ แต่บางวิธีไม่ถูกต้อง เช่น มีการบิดคอ อันนี้จะทำให้เกิดหลอดเลือดฉีกขาด ซึ่งค่อนข้างอันตราย

    อาการปวดหัวแบบไหนควรพบแพทย์ทันที

    • ปวดหัวเหมือนจะระเบิด ไม่เคยปวดแบบนี้มาก่อนในชีวิต บ่งบอกว่ามีความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว พบในภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองร่วมกับความดันโลหิตสูง
    • ปวดหัวรุนแรง ร่วมกับมีอาการแขนขาอ่อนแรงครึ่งซีกทันที บ่งบอกว่าเป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ ที่เกิดจากเลือดออกในเนื้อสมอง
    • ปวดหัวรุนแรง ร่วมกับมีไข้ คอแข็ง ก้มคอไม่ได้ อาจจะมีอาการไม่เกิน 1 สัปดาห์ บ่งบอกว่า มีการติดเชื้อในเยื่อหุ้มสมอง
    • ปวดหัวรุนแรง มีไข้ ร่วมกับมีอาการชักเกร็งกระตุกทั้งตัว และซึมลง บ่งบอกว่ามีสมองอักเสบ
    อาการปวดหัวถึงแม้จะเกิดขึ้นได้บ่อยจนดูเป็นเรื่องปกติ แต่ไม่ควรละเลยที่จะสังเกตตัวเองว่ามีอาการปวดแบบไหน หากปวดแล้วกินยาบรรเทาหรือใช้วิธีในการดูแลตวเองเบื้องต้นแล้วไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของการปวดหัว และให้การรักษาอย่างทันท่วงที รวมทั้งผู้ที่มีอาการปวดหัวรุนแรงอย่างเฉียบพลัน ปวดหัวหลังประสบอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือมีอาการผิดปกติอื่นร่วมด้วย เช่น มีไข้ คอแข็งเกร็ง ผื่นขึ้น ตาพร่า ร่างกายอ่อนแรง สับสน พูดไม่ชัด และชัก ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

    ที่มา

     

    ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่  impliweb.com

    สนับสนุนโดย  ufabet369

Economy

  • สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ส่งออกข้าวโพดรายใหญ่ที่สุดของโลก
    สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ส่งออกข้าวโพดรายใหญ่ที่สุดของโลก

    ทั่วที่ราบของอเมริกาที่เรียกกันว่า Corn Belt เกษตรกรใช้เวลาทั้งวันทั้งคืนเพื่อเลี้ยงดู ดูแล และสวดอ้อนวอนให้อาหารที่มีอยู่ทั่วไปแต่มีความสำคัญทั่วโลกนี้อยู่ดีมีสุข

    Scott Haerr ผู้เก็บเกี่ยวข้าวโพด 4,000 เอเคอร์ทุกปี

    (พื้นที่เกือบห้าเท่าของ Central Park ในนิวยอร์ก) เป็นหนึ่งในนั้น ภายในไซโลเมล็ดพืชขนาดใหญ่ในฟาร์มของเขาทางตะวันตกของรัฐโอไฮโอ เกษตรกรรุ่นที่สามกำลังตรวจสอบเมล็ดข้าวโพดจากการเก็บเกี่ยวปีที่แล้ว “นั่นเป็นข้าวโพดที่ดีจริงๆ” เขาพูด ร่อนผ่านกำมือหนึ่ง

    แม้ว่าคุณภาพของการเก็บเกี่ยวในปีที่แล้วอาจจะดี แต่ปริมาณผลผลิตที่เกษตรกรสหรัฐผลิตได้กลับไม่ต่างไปจากนี้

    ราคาปุ๋ยและเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้จำนวนเอเคอร์ที่ปลูกลดลง 3.4 ล้านเมื่อเทียบกับปี 2564 ยิ่งไปกว่านั้น ความแห้งแล้งในที่ราบทางตะวันตกทำให้ราคาข้าวโพดสหรัฐในตลาดต่างประเทศสูงขึ้น

    “เรามีพืชผลที่สภาพอากาศแปรปรวน และแม่น้ำมิสซิสซิปปีเหือดแห้งเมื่อฤดูใบไม้ร่วงปีที่แล้วและต้นฤดูหนาว ซึ่งทำให้การส่งออกของเราช้าลง” นายแฮร์กล่าว “เพราะเหตุนั้น ราคาข้าวโพดจึงสูงขึ้น ทำให้เราแข่งขันได้น้อยลง”

    การทำงานหนักและความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีของเกษตรกร

    ชาวอเมริกันได้ยึดตำแหน่งผู้นำในด้านการส่งออกข้าวโพด ทุกๆ ปี สินค้าจำนวนหลายสิบล้านตันถูกส่งจากสหรัฐอเมริกาไปยังกว่า 60 ประเทศทั่วโลก

    แต่สถานะมหาอำนาจข้าวโพดอาจถึงจุดสิ้นสุด ในความเป็นจริง หลังจากหลายทศวรรษที่อยู่บนจุดสูงสุด ก็ใกล้จะถูกแซงหน้าในฐานะผู้ส่งออกพืชผลรายใหญ่ที่สุดของโลก

    ผู้ซื้อในจีน ซึ่งเป็นผู้นำเข้าข้าวโพดรายใหญ่ที่สุดในโลก ได้ยกเลิกคำสั่งซื้อจากสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เพราะมีทางเลือกอื่นที่ถูกกว่า

    ในเดือนมกราคม การขายข้าวโพดของสหรัฐไปยังจีนต่ำกว่าระดับของปีก่อนหน้ามากถึง 70% และในเดือนพฤษภาคม จีนเริ่มซื้อข้าวโพดของแอฟริกาใต้เป็นครั้งแรก นับเป็นกระแสที่น่าหนักใจสำหรับเกษตรกรสหรัฐฯ

    ไม่ใช่แค่จีนที่ถอยห่างจากข้าวโพดสหรัฐ: เมื่อเร็ว ๆ นี้ Reuters รายงานว่าการส่งออกไปยังทุกปลายทางยกเว้นจีนนั้นต่ำที่สุดเป็นอันดับสองในรอบสองทศวรรษ เม็กซิโกซึ่งซื้อข้าวโพดสหรัฐมูลค่าประมาณ 5 พันล้านดอลลาร์ (3.9 พันล้านปอนด์) ทุกปี กำลังย้ายออกจากพันธุ์ดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งส่วนใหญ่มาจากเพื่อนบ้านทางตอนเหนือ

    มีประเทศเดียวที่ได้รับประโยชน์จากแนวโน้มนี้ – บราซิล

    ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า เกษตรกรที่นั่นเปลี่ยนพื้นที่เกษตรกรรมจากทุ่งหญ้าเป็นทุ่งข้าวโพดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญกล่าว ข้อได้เปรียบเพิ่มเติมของบราซิลคือเกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวข้าวโพดได้ปีละ 2 ครั้ง

    Frayne Olson นักเศรษฐศาสตร์พืชผลแห่งมหาวิทยาลัย North Dakota State กล่าวว่า “โดยเฉพาะปีที่แล้ว พวกเขามีสต็อกที่สามารถส่งออกได้มากกว่าที่เราทำในสหรัฐอเมริกา” “แนวโน้มในระยะยาวคือบราซิลกำลังเพิ่มการผลิตข้าวโพด และกลายเป็นผู้เล่นที่โดดเด่นกว่ามาก”

    จีนได้เคลื่อนไหวตาม โดยเพิ่มคำสั่งซื้อข้าวโพดของบราซิลอย่างมาก ทั้งสองประเทศยังได้ลงนามในข้อตกลงหลายฉบับที่จะช่วยให้สามารถส่งข้าวโพดจากบราซิลไปยังจีนได้มากขึ้น

    สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ส่งออกข้าวโพดรายใหญ่ที่สุดของโลกแฮร์รี่ เมอร์ฟี ครูซ นักเศรษฐศาสตร์จีนจาก Moody’s Analytics ระบุว่า

    การที่จีนหันมาเพิ่มความหลากหลายในการนำเข้าอาหารน่าจะเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน นอกเหนือจากความได้เปรียบด้านราคาแล้ว ความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างสหรัฐฯ และจีนยังผลักดันให้ปักกิ่งต้องกระจายการลงทุนอย่างรวดเร็วในกรณีที่สิ่งต่างๆ แย่ลง

    “การค้าเป็นเครื่องมือสำคัญในคลังแสงของผู้กำหนดนโยบายทั้งหมด” เขากล่าว “มีความเป็นไปได้ที่จีนกำลังใช้การค้าเป็นการบีบบังคับทางเศรษฐกิจรูปแบบหนึ่ง”

    นายครูซกล่าวว่า การต่อสู้อย่างเข้มข้นกับสิ่งต่างๆ เช่น เซมิคอนดักเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และแบตเตอรี่ไม่ได้เป็นเพียงตัวอย่างเดียวที่แสดงให้เห็นว่าจีนเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางการค้ากับสหรัฐฯ อย่างไร

    “มันกว้างกว่านั้น” ครูซกล่าว โดยสังเกตว่าจีนกำลังมองหาการลดความเสี่ยงและสนับสนุนห่วงโซ่อุปทานสำหรับสินค้าที่สำคัญ

    “อาหารและอาหารสัตว์มีความสำคัญพอๆ กัน” เขากล่าว

    ย้อนกลับไปในสหรัฐฯ ราคาข้าวโพดพุ่งสูงด้วยเหตุผลหลายประการเช่นเดียวกันกับสินค้าและบริการอื่นๆ ที่มีราคาแพงในปัจจุบัน นั่นคือ เงินเฟ้อ สำหรับเกษตรกร ต้นทุนเครื่องจักร เมล็ดพันธุ์ และพื้นที่การเกษตรที่เพิ่มสูงขึ้นได้กลืนกินผลกำไรของพวกเขาไปแล้ว

    “เมื่อคุณดูความแตกต่างที่ใหญ่ที่สุดของต้นทุนการผลิตข้าวโพดในสหรัฐฯ เทียบกับบราซิล แอฟริกาใต้ หรืออาร์เจนตินา มันน่าจะเป็นที่ดิน” Frayne Olson กล่าว

    ราคาต่อเอเคอร์ของที่ดินในรัฐไอโอวา ซึ่งเป็นรัฐที่ผลิตข้าวโพดที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้น 29% ในปี 2564 และเพิ่มขึ้นอีก 17% ในปี 2565 ซึ่งสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ในรัฐอิลลินอยส์ ผู้ผลิตข้าวโพดรายใหญ่อันดับสอง ค่าเช่าที่ดินทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อปีที่แล้ว

    อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของบราซิลไม่น่าจะมีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อชีวิตประจำวันของชาวอเมริกัน เนื่องจากเกษตรกรรมไม่ได้มีน้ำหนักทางเศรษฐกิจเท่ากับเมื่อหลายทศวรรษที่ผ่านมา

    “การเกษตรมีความสำคัญ – เสบียงอาหารมีความสำคัญ – แต่นั่นไม่ใช่ส่วนสำคัญของเศรษฐกิจทั้งหมด” นายโอลสันกล่าว

    ขณะเดียวกัน เกษตรกรชาวไร่ Scott Haerr กล่าวว่าเขาไม่ได้วางแผนที่จะลดจำนวนเอเคอร์ของข้าวโพดที่เขาปลูก เนื่องจากค่าปุ๋ยและเชื้อเพลิงได้ลดลงจากระดับสูงสุดของปีที่แล้ว

    “แต่เราพร้อมที่จะเปลี่ยน ถ้าจำเป็น” เขากล่าว เขาเชื่อว่ามีเพียงเล็กน้อยที่ต้องทำเพื่อหยุดการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของบราซิล แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเกษตรกรชาวอเมริกันออกจากเกมการส่งออก

    “ตอนนี้อินโดนีเซียไม่ได้นำเข้าข้าวโพด แต่ศักยภาพการเติบโตของเอทานอล (ผลิตจากข้าวโพด) นั้นสูงมาก” เขากล่าว เมื่อต้นปีนี้ เขาและชาวไร่ข้าวโพดในรัฐโอไฮโอคนอื่นๆ ได้ไปเที่ยวประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อรับฟังความคิดเห็นโดยตรงว่าผู้ซื้อต้องการอะไร

    “เราต้องแน่ใจว่าเรากำลังพยายามพัฒนาตลาดใหม่ๆ” เขากล่าว

    รายงานเพิ่มเติมโดย Derek Cai ของ BBC ในสิงคโปร์

    เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจในเว็บของเรา

    Apple Vision Pro ชุดหูฟังโลกเสมือนจริง

    “ฟูจิฟิล์ม” จัดมินิ มาราธอน การกุศล

    ทำอย่างไรเพื่อดึงดูดบัณฑิต เชียงใหม่ ให้ทำงานในบ้านเกิด

    John McGinn กัปตัน Aston Villa เซ็นสัญญาฉบับใหม่เวลา 4 ปี

    Max Verstappen คว้าชัยชนะที่ Monaco Grand Prix

    ขอบคุณรูปภาพจาก pexels.com

    แหล่งที่มา https://www.bbc.com/news/business

    สามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ impliweb.com