โควิด

โควิด-19 “ระลอกเล็ก” สธ. เร่งฉีดวัคซีนกลุ่ม 608 หลังกลับมาระบาดอีก

จากสถานการณ์การแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่กลับมาระบาด ในประเทศไทยตอนนี้ ได้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยได้สอดคล้องกับสถานการณ์ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก และล่าสุดทาง กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาประกาศแล้วว่า เป็นการระบาดของ ไวรัสโควิด-19 ละลอกเล็ก ซึ่งตัวเลขของผู้ติดเชื่อ ยังอยู่ในระดับคาดการณ์

ทั้งนี้ทางปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ได้ออกมาแถลง ถึงจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในขณะนี้เพิ่มขึ้น และมีผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาลเพิ่มมากขึ้น 10-20% แต่มีผู้เสียชีวิตไม่มากนัก โดยมีอัตราเฉลี่ย ไม่เกิน 10 คนต่อวัน แต่ยังมีความเป็นไปได้ ที่จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และทาง สธ. จะเร่งติดตามอย่างใกล้ชิด

จากการประชุมร่วมกับ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทั่วประเทศ รายงานว่าแต่ละแห่งยังรองรับสถานการณ์ได้แม้ผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น เนื่องจากส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง รักษาแบบผู้ป่วยนอก แพทย์ให้ยาตามที่วินิจฉัย ส่วนการรักษาในโรงพยาบาล ยังไม่ได้เพิ่มขึ้นแบบมีนัยสำคัญจนต้องเพิ่มมาตรการ

“ส่วนผู้สูงอายุที่มีข่าวเสียชีวิตที่บ้านช่วงนี้ คงต้องไปดูการเสียชีวิตแต่ละราย หลายรายอาการไม่เหมือนโควิด อยู่ ๆ เสียชีวิต ไปตรวจเอทีเคพบ (ผลเป็นพวก) แต่การตรวจเอทีเคเป็นการคัดกรองเบื้องต้น การวินิจฉัยยืนยันต้องตรวจรายละเอียดมากกว่านั้น กรมควบคุมโรคจะลงไปดูรายละเอียด” นพ.โอภาสกล่าว

ปลัด สธ. ระบุด้วยว่า การระบาดรอบนี้ทุกอย่างยังเป็นไปตามที่คาดการณ์ เป็นลักษณะ Small Wave (การระบาดระลอกเล็ก) การมีผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเพิ่มขึ้นก็ยังอยู่ในการคาดการณ์ จะเพิ่มตามวงรอบคือ ช่วง พ.ย. และ ธ.ค. โดยหลังปีใหม่จะค่อยลดลง นพ.โอภาสยังสั่งการให้กำหนดเป้าหมายการฉีดวัคซีนระยะนี้อย่างจริงจัง

โดยให้ทุกโรงพยาบาลในสังกัด สธ. จัดจุดบริการฉีดวัคซีนโควิดตามเหมาะสม โดยเฉพาะกลุ่ม 608 คือ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป กลุ่มผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์ “จะเห็นว่าคนที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่ไม่ได้เข็มกระตุ้น” และ “จะติดตามสถานการณ์ผู้ติดเชื้อและฉีดวัคซีนอย่างต่อเนื่อง และจะสรุปอีกครั้งในปลายเดือนนี้” ปลัด สธ. กล่าว

โควิด

พบผู้ติดเชื้อเฉลี่ย 565 ราย/วัน ตาย 9 ราย/วัน

บีบีซีไทยตรวจสอบข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ซึ่งรายงานสถานการณ์โควิด-19 ในไทยเป็นรายสัปดาห์ พบว่า สัปดาห์แรกของเดือน (30 กย.-5 พ.ย.) พบผู้ป่วยรายใหม่ 2,759 ราย เฉลี่ย 394 ราย/วัน และผู้เสียชีวิต 40 ราย เฉลี่ย 5 ราย/วัน สัปดาห์ที่สองของเดือน (6-12 พ.ย.) พบผู้ป่วยรายใหม่ 3,166 ราย เฉลี่ย 452 ราย/วัน และผู้เสียชีวิต 42 ราย เฉลี่ย 6 ราย/วัน

สัปดาห์ที่สามของเดือน (13-19 พ.ย.) พบผู้ป่วยรายใหม่ 3,957 ราย เฉลี่ย 565 ราย/วัน (เพิ่มขึ้นในสัดส่วน 25% หากเทียบกับสัปดาห์ที่สองของเดือน) และผู้เสียชีวิต 69 คน เฉลี่ย 9 ราย/วัน กรมควบคุมโรคได้ปรับการรายงานยอดผู้ติดเชื้อไ วรัสโรนาเป็นรายสัปดาห์ หลังจากโรคโควิด-19 ได้รับการปรับสถานะ

จากโรคติดต่ออันตราย เป็น โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ตั้งแต่ 1 ต.ค. แนะกลุ่ม 608 ที่ฉีดวัคซีนเข็มสุดท้ายเกิน 4 เดือน เข้ารับเข็มกระตุ้น ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานข่าวการเสียชีวิต ของประชาชนซึ่งตรวจเอทีเคพบว่าติดเชื้อโควิด-19 ในหลายกรณี แต่ทั้งหมดนี้ไม่ยืนยันว่าเสียชีวิตจากโควิดหรือไม่ เพราะอยู่ระหว่างการสอบสวนโรคและรอผลชันสูตร

นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ขอความร่วมมือให้ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง 608 เข้ารับวัคซีน เพราะมีการป่วยตายจากโควิด-19 มากกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งหมดที่รายงานในแต่ละวัน และกลุ่มนี้ หากรับวัคซีนครบแล้วและเข็มล่าสุดนานเกิน 4 เดือนขึ้นไป ให้เข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะสามารถป้องกันการป่วยหนักและลดโอกาสเสียชีวิตได้

จับตาสายพันธุ์ BA.2.75 พุ่ง “บ่งชี้ว่าอาจมีข้อได้เปรียบในการแพร่ระบาด”

ตั้งแต่ต้นปี 2565 เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์เดลตาถูกแทนที่ด้วยโอมิครอน จนกลายเป็นสายพันธุ์หลักที่แพร่ระบาดอยู่ในไทย ทว่ามีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ย่อย ๆ หลากหลาย ได้แก่ BA.1, BA.2, BA.4, BA.5 โดยที่ BA.5 ยังคงเป็นสายพันธุ์หลัก แต่ล่าสุดพบว่าสายพันธุ์ BA.2.75 และลูกหลานของมัน เช่น BN.1, BL.2 มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในกลุ่มผู้ติดเชื้อในประเทศ

ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า เชื้อโควิดสายพันธุ์ BA.2.75 ตรวจพบครั้งแรกในประเทศอินเดียช่วงต้นเดือน พ.ค. และได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วตั้งแต่นั้น ส่วนในไทยรายงาน BA.2.75 ครั้งแรกเมื่อปลายเดือน มิ.ย.

“สายพันธุ์ BA.2.75 มีการกลายพันธุ์ที่สำคัญคือ G446S บนโปรตีนหนาม ซึ่งจับกับตัวรับในเซลล์ของมนุษย์ และเกี่ยวข้องกับการหลบภูมิคุ้มกัน การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วบ่งชี้ว่าอาจมีข้อได้เปรียบในการแพร่ระบาด” อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กล่าวเมื่อ 22 พ.ย.

แต่ถึงกระนั้น นพ.ศุภกิจยืนยันว่า การปฏิบัติตามมาตรการทางสาธารณสุข การสวมหน้ากากอนามัยในสถานที่แออัด การล้างมือ ยังรับมือกับการระบาดได้ทุกสายพันธุ์ และการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ก็สามารถช่วยลดความรุนแรงของเชื้อได้

เช่นเดียวกับ นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ที่กล่าวยืนยันเมื่อ 24 พ.ย. ว่า “ยังไม่มีรายงานความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นจากเชื้อเดิม” และ “สามารถใช้ยาต้านไวรัสที่มีอยู่รักษาได้ และวัคซีนที่มีอยู่ รวมถึงแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาว (Long-acting Antibodies : LAAB) ก็ยังสามารถยับยั้งเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ BA.2.75 ได้”

นอกจากสายพันธุ์ BA.2.75 ที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นในไทย ข้อมูลจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ยังเผยให้เห็นว่า มีผู้ติดเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์อื่น ๆ ในไทย แบ่งเป็น สายพันธุ์ BQ.1 ที่ระบาดในอเมริกาและยุโรป จำนวน 9 ราย และสายพันธุ์ XBB ที่ระบาดในสิงคโปร์ จำนวน 13 ราย อย่างไรก็ตามยังไม่พบสัญญาณความรุนแรงของเชื้อที่กลายพันธุ์ แต่อาจทำให้มีการแพร่และติดเชื้อง่ายขึ้น

ขอบคุณข้อมูลจาก : bbc.com/thai
อ่านต่อได้ที่ : impliweb.com